ริมฝั่งโขง

ริมฝั่งโขง

ผู้เยี่ยมชม

jah.choltida@gmail.com

  เรื่องสินสมรสและหากทำสัญญาจ้างทนายพร้อมจ่ายค่าจ้างแล้วแต่ทนายเพิกเฉยควรทำอย่างไร? (1354 อ่าน)

17 ก.ค. 2558 16:17

เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากสามีและภรรยาแต่งงานกัน(ทั้ง 2 คนมีอาชีพรับราชการค่ะ) แม่ฝ่ายภรรยาได้มอบที่ดินให้ 1 ผืน โดยสร้างบ้านไว้บนที่ดินผืนนี้ 1 หลัง ซื้อรถยนต์ 2 คัน (เป็นรถกระบะ 1 คัน และรถเก๋ง 1 คัน) สามีภรรยาคู่นี้มีลูก  2 คน เสียชวิตแล้ว 1 คน ส่วนคนที่มีชีวิตบรรลุนิติภาวะแล้ว ค่าใช้จ่ายในบ้านฝ่ายสามีจะให้ภรรยาและลูกดูแลทั้งหมด ส่วนรายได้ของตันเองอ้างว่าจะเก็บไว้สร้างบ้านและซื้อรถ (และได้กู้เงินมาจำนวนหนึ่งเพื่อซื้อบ้านและรถ โดยแอบปลอมลายเซ็นต์ของภรรยาในการกู้ยืม) หลังจากนั้นแม่ฝ่ายสามีได้มอบที่ดินให้อีก 1 ผืน และสร้างบ้านบนที่ดินผืนนี้อีก 1 หลัง และย้ายมาอยู่หลังนี้ (หลังจากซื้อบ้านและรถแล้วฝ่ายสามีก็ยังคงไม่ช่วยค่าใช้จ่ายในครอบครัวเช่นเคย) เมื่อลูกเสียชีวิตใหม่ๆ ภรรยาเสียใจกับเรื่องนี้มากจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าต้องหาหมอที่จิตเวท ถึงแม้จะทานยาแล้วก็ไม่ได้ทำให้ภรรยาดีขึ้น และสามีเองก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่งได้ ภรรยาและลูกจึงตัดสินใจเข้าวัดทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับลูกที่เสียชีวิตไป ซึ่งทำให้ภรรยามีอาการดีขึ้น (เงินที่ใช้ทำบุญเป็นเงิน 100 -300 บาท/เดือน เป็นเงินที่ภรรยาและลูกหามาเอง ส่วนรายได้ภายในครอบครัวประมาณ 20,000 - 30,000 บาท ดูแล้วไม่น่าจะมีผลกระทบกับค่าใช้จ่ายในบ้าน) หลังจากลูกเสียชีวิตไม่นานสามีก็เออร์ลี่ออกจากราชการได้เงินค่าบำเน็จบำนานข้าราชการมาจำนวนหนึ่ง วันๆ ไม่ทำอะไรนอกจากนั่งจับผิดภรรยากับลูก และด้วยเกรงว่าภรรยากับลูกจะมีส่วนในเงินที่ตนได้รับก็หาเรื่องไล่ภรรยากับลูกออกจากบ้าน โดยอ้างไม่ชอบที่ภรรยากับลูกเข้าวัด(ถึงขนาดโยนเสื้อผ้าของภรรยาทิ้ง พร้อมทำลายข้าวของในบ้าน) ภรรยากับลูกทนความกดดันไม่ไหวจึงออกไปอยู่บ้านอีก 1 หลัง (เป็นหลังที่สร้างขึ้นบนที่ดินของแม่ฝ่ายภรรยา) หลังจากภรรยากับลูกออกไปแล้วก็คบคิดกับน้องสาวและน้องเขยรีบโอนบ้านพร้อมที่ดิน(เป็นหลังที่สร้างบนที่ดินที่แม่สามียกให้)ให้แก่น้องสาว แต่เนื่องจากโฉนดที่ดินผืนนี้ฝากไว้กับภรรยาจึงไปแจ้งความว่าโฉนดหายเพื่อออกโฉนดใหม่แล้วโอนให้น้องสาว ส่วนรถยนต์ 1 คัน (เป็นรถเก๋ง ส่วนรถกระบะภรรยาเอาไปใช้) สามีนำไปขาย และซื้อใหม่ 1 คันแล้วโอนให้น้องเขย และซึ้อรถเก๋งอีก 1 คันไว้ใช้เอง หลังจากภรรยาและลูกออกจากบ้านได้ 5 ปี และทราบเรื่องนี้จึงไปเจรจาเพราะสามีกระทำไปโดยไม่ได้ความเห็นชอบจากภรรยา แต่ไม่เป็นผล ภรรยาจึงเข้าแจ้งความเอาผิดกับสามี ฐานแจ้งความเท็จ และส่งเรื่องไปที่ศาล ทางศาลตัดสินปรับฐานแจ้งความเท็จและรอลงอาญา 1 ปี(เรื่องนี้สามีได้โกหกต่อศาลว่าไปขอโฉนดกับภรรยาแล้ว แต่ภรรยาไม่ให้ เพื่อเอาตัวรอด) และภรรยาได้ว่าจ้างทนายมาดำเนินเรื่องนี้ 1 ท่าน(มีการทำสัญญาว่าจ้างและชำระเงินค่าทนายและค่าศาลไว้เรียบร้อยตั้งแต่ กค.2557) และมอบเอกสารและหลักฐานทุกอย่างเพื่อให้ทนายดำเนินเรื่องแล้ว แล้วเรื่องก็เงียบหายไปจนศาลมีจดหมายถึงภรรยาเพื่อตัดชื่อออกจากระบบเนื่องจากไม่ยื่นหลักฐานและไม่ชำระค่าศาล ส่วนฝ่ายสามีได้ว่าจ้างทนายเพื่อดำเนินฟ้องอย่าภรรยาฐานทำบุญทีละมากๆ (ทำบุญเดือนละ 100 - 300 บาท ถือว่ามากเหรอคะ?) และศาลได้เรียกขึ้นว่าความตัดสินให้ภรรยาแบ่งสินสมรสซึ่งเป็นรถกระบะที่ภรรยาใช้อยู่ให้สามีครึ่งหนึ่งโดยตีราคาแล้วแบ่งเงินกัน(เรื่องนี้เป็นเรื่องฝ่ายสามีฟ้องร้องภรรยาฝ่ายเดียว ส่วนเรื่องของภรรยากลับไม่เคยถึงศาลเลย) ภรรยาจึงเข้าไปถามเรื่องฟ้องร้องกับทนายที่ว่าจ้าง แต่ทนายกลับแจ้งว่าให้ภรรยากับสามีหย่ากันให้เรียบร้อยก่อน ทนายจึงจะทำเรื่องฟ้องแบ่งสินสมรสให้ (ถ้าสามีภรรยาหย่ากันแล้วยังสามารถฟ้องแบ่งสินสมรสได้เหรอคะ?) และทุกครั้งที่ฝ่ายภรรยาถามความคืบหน้าของคดีทางทนายก็มักจะบ่ายเบี่ยงเลื่อนนัด และมีข้ออ้างต่างๆ มาตลอด และคดีไม่มีความคืบหน้าใดๆ มาได้ 1 ปีแล้ว ไม่ทราบว่าภรรยายังสามารถดำเนินเรื่องฟ้องแบ่งสินสมรสกับสามีได้หรือเปล่าคะ? แล้วจะดำเนินการกับทนายท่านนี้อย่างไร? สามารถเอาผิดทนายท่านนี้ได้ไหมคะ? (แล้วน้องสาวของสามีมีสิทธิ์ข้างความเป็นน้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้หรือไม่ค่ะ?)

ริมฝั่งโขง

ริมฝั่งโขง

ผู้เยี่ยมชม

jah.choltida@gmail.com


ผู้ดูแล

apinanlawyer@gmail.com

18 ก.ค. 2558 10:08 #1

ฟ้องแบ่งสินสมรสได้ครับ แต่ต้องดูให้ดีว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือสินสมรส ในกรณีที่ทำสัญญาว่าจ้างทนาย ต้องดูรายละเอียดและข้อตกลงในสัญญาครับ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาผิดเงื่อนไขข้อตกลงก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกฝ่ายได้เช่นกันครับ

ผู้ดูแล

apinanlawyer@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้